แชร์

ตำแหน่ง จป. มีความสำคัญอย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 17 ก.พ. 2025
465 ผู้เข้าชม

จป. คือใคร ?

      จป. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คือ บุคคลที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ และส่งเสริมความปลอดภัย และสุขภาพในสถานที่ทำงานเป็นผู้ที่คอยวางแผนควบคุมกำกับดูแลพนักงานทุกคนในองค์กรให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย ปราศจากโรคจากการทำงานโดยเป็นตำแหน่งที่กฎหมายได้กำหนดบังคับให้นายจ้างต้องมีไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเช่น การไฟฟ้า การประปา โรงแรม โรงพยาบาล งานเหมืองแร่ และถ่านหิน ห้างสรรพสินค้า สถานบริการ บันเทิง นันทนาการ การกีฬา หรือกิจการอื่นๆตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
 
จป.มีหน้าที่อะไร ?
     หน้าที่หลักของ จป. คือให้คำแนะนำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานปัญหาทางสุขภาพโรคจากการทำงานที่เกิดขึ้นในบริบทการทำงาน โดยการดำเนินการตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) จป.เป็นผู้ที่จะต้องมีทักษะในการประเมินความเสี่ยงอันตราย และการปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพร้อมทั้งเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในองค์กรให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 
    ในปัจจุบัน จป. มีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยให้การดำเนินกิจการของนายจ้างเกิดความราบรื่น ไม่มีอุบัติเหตุจากการทำงานที่อาจส่งผลกระทบกับการบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือเกิดทรัพย์สินเสียหาย ไปจนถึงการที่สถานประกอบกิจการสามารถดำเนินธุรกิจโดยการอยู่ร่วมกับชุมได้เป็นอย่างดีสิ่งเหล่านี้เองคือ สิ่งที่ส่งเสริมให้นายจ้างหรือสถานประกอบกิจการปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์แบบและพนักงานทุกคนรวมถึงผู้มาเยี่ยมชมสถานประกอบกิจการเกิดความปลอดภัย
 

          

   ได้แบ่ง จป. ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยตำแหน่ง

  •   เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับหัวหน้างาน
  •   เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับบริหาร

2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยหน้าที่เฉพาะ

  •   เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค
  •   เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิคขั้นสูง
  •   เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับวิชาชีพ

 

 

จป. ในแต่ละระดับ มีหน้าที่การทำงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปแต่หน้าที่และ ขอบเขตในการทำงานของ จป. ทุกระดับโดยหลักๆ แล้วมีด้วยกันทั้งหมดดังต่อไปนี้

  • จป. มีหน้าที่อบรมความปลอดภัยให้กับพนักงานในบริษัท
  • มีหน้าที่ตรวจและประเมินสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงานประเมินด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงในส่วนต่างๆ
  • นำเสนอแผนและโครงการเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบที่ตามมาแบบครบวงจรให้กับนายจ้าง
  • วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานซึ่งจะต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินอย่างถี่ถ้วนทั้งหมด
  • วิเคราะห์การทำงานและกำหนดมาตรฐานในการทำงานเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นโดยเสนอต่อผู้ว่าจ้างหรือ นายจ้าง 
  • ตรวจประเมินสถานที่ทำงานทั้งเรื่องของสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อม
  • พัฒนาความปลอดภัยในหน่วยงานให้มีความปลอดภัยเป็นไปตามกฎหมายและพัฒนาเพื่อให้ได้รับมาตรฐาน
  • เก็บรวบรวมสถิติหรือข้อมูลต่างๆส่งให้นายจ้างประเมินถึงการวางแผนระบบความปลอดภัยให้แม่นยำและมั่นคง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย
  • เมื่อเกิดเหตุอันตรายต่างๆ ในหน่วยงานต้องรีบทำการประเมินและเสนอกับนายจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ลดความเสี่ยง ลดปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต
 

จป. มีความสำคัญอย่างไร ?
 
   จป. หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน นับถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องแต่งตั้งตามกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 
 
    สถานประกอบกิจการต่างๆ ที่เข้าข่ายตามกฎหมายกำหนดจะต้องมีการแต่งตั้ง จป. ในระดับต่างๆ นายจ้างที่ไม่จัดให้มีการแต่งตั้ง จป. ถือได้ว่ามีความผิดตาม พรบ. ความปลอดภัยฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสน หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
     ในด้านความปลอดภัย ไม่ได้เป็นเพียงความรับผิดชอบหรืออยู่ภายใต้การดูแลของ จป. เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องในขณะที่พนักงานทุกคนก็ควรจะได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานด้วย เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมทำให้เกิดความปลอดภัยด้วยเช่นเดียวกัน 
 

 

อ้างอิงตาม "กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ.2565"


บทความที่เกี่ยวข้อง
สารเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ?
เมื่อพูดถึง “สารเคมี” หลายคนอาจเชื่อมโยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีที่ตกค้างในน้ำ อากาศเป็นพิษ และสารเคมีตกค้างในดิน...
11 เม.ย. 2025
การฝึกอบรม ISO 14001:2015  “ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม”
ก้าวถัดไป ของการพัฒนาต่อยอดธุรกิจที่ต้องการให้เติบโต และยั่งยืนมากกว่าเดิมของ กลุ่มบริษัท ดรากอนอล คือ จาก ISO 9001:2015 “...
3 เม.ย. 2025
Shortcut คีย์ลัดที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น
การใช้ Shortcut เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยลดเวลาในการทำงาน...
4 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy